กับ 4 โจทย์หลัก คือ (1) การแจ้งเบาะแสร้องเรียน 1386 (2) คนติดยารักษาได้..แค่ครอบครัวและชุมชนอย่าทอดทิ้ง (3) การแก้ปัญหายาเสพติด..ไม่มี “พระเอก” มีแต่ “เครือข่ายความร่วมมือ” และ (4) แก้ปัญหายาเสพติด..ต้องไม่ทำแบบตัด “เสื้อโหล”
ผลงานที่ชนะการแข่งขัน และพร้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
1. เราแจ้งด้วยกัน 1386 มีกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต โดยใช้แนวทางการตลาด (marketing) มาใช้ในแจ้งเบาะแส ด้วยการเพิ่มช่องทางการติดต่อ การสร้างความตื่นตัว และการให้รางวัล
2. Parents Ranger การชวนพ่อแม่ที่มีลูกติดยา ให้เข้ามาเป็นเครือข่าย มีแนวทางในการแก้ไขทั้งแบบ Online และ Offline โดยแบบ Online จะมีการพัฒนา Application ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมในครอบครัว และมีบริการให้คำปรึกษาผ่าน Application ด้วย และแบบ offline ผ่านการ Workshop ภายในครอบครัว และการสร้างร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน โดยแบ่งเป็น 3 phase (สื่อสารภายในครอบครัว – ร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง – ติดตามผล)
3. Care Case กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มใกล้ชิดผู้ติดยา โดยมีกระบวนการเริ่มจากการชี้แจงคนในชุมชน การเพิ่มช่องทางสื่อสารและแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายคุ้นเคย เช่น Line@ และ QR Code แล้วทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล สร้างบรรยากาศชุมชนให้น่าอยู่ และสัมภาษณ์คนในแต่ละบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม หากพบว่าข้อมูลเป็นความจริง จะมีการให้รางวัลแก่ผู้ที่รายงานและผู้เสพ และสุดท้ายจะเป็นกระบวนการส่งผู้เสพยาไปบำบัด
4. Local Venture กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ชุมชน โดยการรวมตัวสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเชื่อว่าการมีรายได้ จะทำให้คนในชุมชนเข้มแข็ง และไม่เข้าไปพึ่งพายาเสพติด
ในงานครั้งนี้ นายธนากร คัยนันท์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีคณะกรรมการ 4 ท่าน คือ นางสาวนันทพร พงศ์อิศวรานันท์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ส. นายอุดมชัย โลหณุต ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. คุณปรารถนา หาญเมธี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและบริหารโครงการ บริษัท รักลูก ฮิวแมน แอนด์ โซเชียล อินโนเวชั่น จำกัด และนางสาววิริยา เนตรน้อย ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ ร่วมเป็นผู้ให้ความเห็นและคำแนะนำในการพัฒนาผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม