ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform) ครั้งที่ 1/2563

25 พ.ย. 2563
0
เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.30 น. ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 501 – 502 ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. รายงานความก้าวหน้าโครงการการศึกษาออกแบบและจัดทำต้นแบบของระบบการค้าดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งชาติ
– การนำเสนอผลการศึกษา Flow กระบวนการนำเข้าส่งออก ที่มีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก อาทิ ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก ภาคธุรกิจขนส่ง ภาคธุรกิจประกันภัย ภาคการเงินการธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ และสำรวจความพร้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละภาคส่วน ศึกษาแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มของประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ พบว่า แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยระบบจะข้อมูลจะส่งไปยังธนาคารในขั้นตอน Sale Agreement เพื่อให้ธนาคารมั่นใจได้ว่ามีคำสั่งซื้อจริง ช่วยทุกฝ่ายได้รับข้อมูลที่มาจากแหล่งเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการดำเนินการทางธุรกิจง่ายขึ้น การซื้อขายแบบ B2B มีศักยภาพมากขึ้น คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ 2% หรือประมาณ 5 พันล้านบาท ลดความซ้ำซ้อนของเอกสาร ลดระยะเวลาในการทำงานได้ประมาณ 14 เท่า ข้อมูลมีความแม่นยำ เกิดความโปร่งใสและปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนได้ง่ายขึ้นในต้นทุนที่ต่ำลง นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาข้อกฎหมายที่อาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ NDTP พร้อมกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการ และศึกษารูปแบบการลงทุนเพื่อนำเสนอแนวทางให้อนุกรรมการฯ ได้รับทราบในโอกาสต่อไป

2. ความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย และการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
– สำนักงานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาระยะที่ 1 ของระบบแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งจะครอบคลุม ผู้ส่งออก ธนาคาร และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ และครอบคลุมธุรกรรมบางประเภท เช่น การออกเอกสาร e-purchase order e-invoice และ e-packing list พร้อมรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการของสำนักงาน กกร. ในเวทีสากลเพื่อให้ระบบสามารถเชื่อมต่อกับระบบ digital trade ของประเทศคู่ค้าได้ รวมถึงแนวทางการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลฯ จะช่วยลดปัญหาการขอสินเชื่อซ้ำซ้อน (Double Financing) และจากข้อมูลสถิติเอกสารด้านการส่งออกของประเทศไทยที่มีจำนวนเอกสารต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านฉบับ ดังนั้น ในระยะยาวระบบแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลฯ จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศได้ โดยสามารถลดต้นทุนด้านเอกสารต่อเดือนได้ไม่น้อยกว่าพันล้านบาท

3. กรอบแนวทางการดำเนินงานของ อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจฯ
(1) ส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอรม์การค้าดิจิทิลระหว่างประเทศของไทย ให้สำเร็จก่อนประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ
(2) ผลักดันการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลฯ เพื่อให้ใช้งานได้ทันในการรองรับการเป็นเจ้าภาพ APEC ของประเทศไทยในปี ค.ศ. 2022
(3) จัดทำแผนและผังการดำเนินงาน (Roadmap & Blueprint) ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ล่ะช่วงการดำเนินการ
(4) ดำเนินการบางส่วนไปก่อน เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาในระยะต่อไป

ทั้งนี้ มีมติ แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับดำเนินการ 3 คณะ ประกอบด้วย
1) คณะทำงานด้านเทคนิค เพื่อพัฒนาคุณสมบัติเชิงดิจิทัลของแพลตฟอรม์ ให้สามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการค้าของต่างประเทศได้ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
2) คณะทำงานด้านกฎหมาย เพื่อวางแผนและดำเนินการปรับปรงุแก้ไขกฎหมายที่เป็นอปุสรรค เพื่อสามารถให้บริการแพลตฟอร์มได้ตามกรอบเวลาที่กำหนด
3) คณะทำงานออกแบบรูปแบบเชิงธุรกิจ (Business Model) ของแพลตฟอร์ม เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินการของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และจัดทำแผนและผังการดำเนินงาน (Roadmap & Blueprint) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มในภาพรวม

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า