ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุมสัมมนาการปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงานภาครัฐตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ (โครงการ Smart Farmer)

3 พ.ย. 2563
0
เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมสัมมนาการปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงานภาครัฐตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ (โครงการ Smart Farmer) ณ ห้องบุหลันพิทักษ์พล (310) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (IFRPD) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยมีรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางนันทนา ธรรมสโรช) เป็นประธานในการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และกล่าวขอบคุณผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมรับฟัง ซึ่งทางสำนักงาน ก.พ.ร. มีความประสงค์อยากได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาในวันนี้ไปประกอบให้รายงานการศึกษามีความสมบูรณ์ และนำไปสู่การปฏิบัติที่เกิดขึ้นได้จริงต่อไป

การนำเสนอผลการศึกษาโครงการ Smart Farmer สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

– วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการของส่วนราชการที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบาย “เกษตรอัจฉริยะ” ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า เพื่อนำไปสู่การปรับบทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม

– ในการศึกษาได้คัดเลือกข้าวหอมมะลิเป็นพืชต้นแบบ ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยได้ดำเนินการลงพื้นที่เข้าสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความคิดเห็นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อนำมาพัฒนาเป็นร่าง Thai Model พร้อมทั้งจัดทำเป็นข้อเสนอการปรับบทบาท ภารกิจ โครงสร้าง และระบบการบริหารงาน (Transformation Plan) ที่เป็น Quick win ของส่วนราชการเป้าหมาย ตาม 6 ปัจจัยความสำเร็จของประเทศต้นแบบด้านเกษตรอัจฉริยะ (อิสราเอล ญี่ปุ่น ไต้หวัน) ได้แก่

1) นโยบายและยุทธศาสตร์ : พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้เกษตรกรไทยเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้
2) กลไกและการมีส่วนร่วมทั้งจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา : แนวร่วมเกษตรอัจฉริยะเพื่อลดการพึ่งพิงภาครัฐ
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : เสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้เกษตรกร
4) เทคโนโลยีและนวัตกรรม : ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
5) การส่งเสริมทางการตลาดและผลิตภัณฑ์ : สร้างเครือข่ายแบ่งปันอุปกรณ์การเกษตรรัฐ-เอกชน
6) การรักษาและพัฒนามาตรฐานสินค้า : บรรเทาภาระต้นทุนจากการปฏิบัติตามมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า

– ที่ประชุมได้ร่วมเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน Transformation Plan ไปสู่การปฏิบัติได้จริง เช่น

– การกำหนด Joint KPI เพื่อให้เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ ต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการจัดสรรงบประมาณ และควรเป็นการจัดสรรงบประมาณที่ต่อเนื่อง 2-3 ปี ไม่ใช่การตั้งของบประมาณรายปี เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินโครงการที่ต้องมีการใช้จ่ายระยะยาว

– การกำหนดเป้าหมายของแผน ต้องเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ เช่น การระบุจำนวนที่วัดผลได้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละระยะชัดเจน และเป็นเป้าหมายเดียวกัน
– ควรนำ Model นี้ pilot การบูรณาการในพื้นที่ก่อน โดยยังไม่ต้องปรับโครงสร้างภาพใหญ่ ถ้าได้ผลดีจึงขยายผล
– การจัดการเพาะปลูก 1 zoning 1 การรับรองมาตรฐาน เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกษตรกร 1 รายต้องขอหลายใบรับรองมาตรฐานในการส่งออกเป็นสิ่งที่ดีแต่อาจไม่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เสนอแนะให้ scope ให้เล็กลงเป็น 1 กลุ่มเกษตรกร 1 การรับรองมาตรฐาน จะง่ายต่อการบริหารจัดการและมีโอกาสสำเร็จมากกว่า
– ในบางภารกิจ รัฐอาจไม่จำเป็นต้องทำเอง และมีเอกชนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว เช่น การพัฒนา E-commerce platform ปัจจุบันมี platform ของเอกชนที่ดีอยู่แล้ว ภาครัฐไม่จำเป็นต้องมาพัฒนาเอง แต่รัฐจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก platform เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ประเด็นข้อสังเกตข้อเสนอแนะ สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้นำไปปรับปรุงข้อเสนอ Transformation Plan ให้สมบูรณ์และนำไปปฏิบัติได้จริง

และจากผลการศึกษานี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำไปประกอบในการวิเคราะห์การปรับบทบาทภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้ง ขับเคลื่อนข้อเสนออื่นๆ ใน Transformation Plan เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป

กองพัฒนาระบบราชการ 1 / ข้อมูล/ภาพ
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า