ข่าวสาร ก.พ.ร.

คณะทำงานขับเคลื่อนและขยายผลการให้บริการหรือการทำงานบนระบบออนไลน์ (e-Service) ในส่วนราชการของสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เข้าประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจาก 4 หน่วยงาน

29 ต.ค. 2563
0
เมื่อวันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 น. คณะทำงานขับเคลื่อนและขยายผลการให้บริการหรือการทำงานบนระบบออนไลน์ (e-Service) ในส่วนราชการของสำนักงาน ก.พ.ร. โดยรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางสาวสุรุ่งลักษณ์ เมฆะอำนวยชัย) พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบราชการ 2 (นางสาวมัตติกา เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ (นายจิรวัฒน์ ระโหฐาน) และเจ้าหน้าที่ ก.พ.ร. ได้เข้าประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กรมประชาสัมพันธ์ (2) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (3) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ (4) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของภาครัฐ โดยในการประชุมครั้งนี้จะเป็นการหารือในข้อเท็จจริงของการดำเนินการ เพื่อประเมินแนวทางการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนถึงปัญหาและอุปสรรคของการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

– กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอการปรับปรุงงานบริการภาครัฐ (e-Service) คือ การพัฒนาระบบการออกบัตรสื่อมวลชน ซึ่งเป็นการยกระดับจาก L0 เป็น L1 โดยการลดขั้นตอนการทำบัตรสื่อมวลชน ซึ่งได้เปลี่ยนระบบมาให้สามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้ทดแทนการเดินทางมายังหน่วยงาน เดิมทีจะต้องส่งเอกสารและนัดวันมาทำบัตรอีกครั้ง แต่ในระบบใหม่นี้
จะสามารถยื่นเอกสารออนไลน์และเข้ามาแสดงตัวตน (ตามระเบียบของหน่วยงาน) เพื่อถ่ายรูปและรับบัตรได้ทันที

– สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นำเสนอการปรับปรุงงานบริการภาครัฐ (e-Service) คือ ระบบจดทะเบียนขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งเป็นการยกระดับจาก L0 เป็น L1 โดยการลดขั้นตอนให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้ และใช้การส่ง SMS เพื่อแจ้งผู้ประกอบการวางหลักประกัน แทนการส่งหนังสือแจ้งผู้ประกอบการวางหลักประกัน
ทางไปรษณีย์ ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการหลายวัน แต่ขณะนี้จะต้องมีการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้สามารถส่ง SMS ทดแทนการส่งหนังสือได้

– สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นำเสนอการการพัฒนา One ID ผู้ประกอบการ เนื่องจากหน่วยงาน มีงานบริการแบบออนไลน์ e-Service หลายระบบ และแต่ละระบบมีบัญชีผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ เกิดความสับสนและไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการ จึงได้เสนอการพัฒนา One ID ผู้ประกอบการเพื่อให้ผู้ประกอบการมี 1 รหัส และ 1 ช่องทางที่สามารถเข้าใช้ทุกงานบริการ e-Service ของ BOI และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ในการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

– สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นำเสนอการปรับปรุงงานบริการภาครัฐ คือ “การพัฒนาระบบยื่นคำร้องการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากคดีฟอกเงิน เช่น แชร์ลูกโซ่หรือการฉ้อโกง ให้สามารถขอคืนทรัพย์สินในส่วนของตนเองจากทรัพย์สินที่สำนักงาน ปปง. ยึด/อายัดจากผู้กระทำความผิดก่อนที่ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้ ผ่าน e – Form ในการยื่นคำร้อง แนบเอกสารหลักฐาน และนัดหมายให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ อันเป็นการพัฒนา e – Service จาก L0 เป็น L1 ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคอยของผู้เสียหาย ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ให้ประเด็นข้อสังเกตของระยะเวลาการเข้าให้ถ้อยคำต่อรอบอย่างเพียงพอ และแนะนำให้สำนักงาน ปปง. พิจารณาการพัฒนาต่อยอด e – Service ในอนาคตที่จะสามารถลดกระบวนการทำงาน หรือช่วยเหลือให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้สะดวกขึ้นและลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ต่อไป

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า