เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการศึกษาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
โดยมีนายไมตรี อินทุสุต ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น และนายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ เป็นประธานการประชุม และข้าราชการจากหน่วยงานในจังหวัดปทุมธานีร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้จังหวัดได้มีการพัฒนาระบบโครงสร้างและการบริหารงานในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศ และสร้างความเข้มแข็งด้านระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศให้แก่จังหวัดเพื่อมุ่งสู่จังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และการทบทวนบทบาทภารกิจของสำนักงานสถิติจังหวัดให้เป็นผู้แทนกระทรวงเพื่อรองรับการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่
สรุปประเด็นการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
1. รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี รับทราบแนวทางการศึกษาดังกล่าว เพราะจะช่วยให้แก้ปัญหาจากที่มีการเก็บข้อมูลและรายงานทุกปี ให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอดในการพัฒนาได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจังหวัดมีจุดเน้นการพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร ยกระดับพัฒนาด้านการเกษตร และมีแนวทางการพัฒนาในอนาคต คือ การส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว
2. รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ชี้แจงจุดเน้นการพัฒนาฐานข้อมูลอยู่ที่ “การนำข้อมูลมาใช้”และเป็นเครื่องมือสำคัญประกอบการตัดสินใจ โดยต้องมีคุณสมบัติ “ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย” สำหรับการศึกษาครั้งนี้แบ่งข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบัน (AS IS) และข้อมูลที่ต้องการพัฒนา (TO BE) และคัดเลือกจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระบุรี จากการมีทุนด้านการพัฒนาข้อมูลระดับสูงเป็นจังหวัดนำร่อง
โดยสิ่งที่จังหวัดได้รับประโยชน์เป็นการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์การพัฒนาด้านสำคัญของจังหวัด และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชกร 4.0 (PMQA 4.0) หมวด 4 สำหรับการศึกษาอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 เมื่อผลการพัฒนาแล้วเสร็จกลับมาชี้แจงแก่จังหวัดอีกครั้ง
3. ในทางปฏิบัติจังหวัดปทุมธานี มีความพร้อมพัฒนาข้อมูล โดยอาศัยกลกไก “คณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด” ที่มีอยู่เดิมในการขับเคลื่อนการพัฒนาข้อมูลในประเด็นการพัฒนาจังหวัด อาทิ ประเด็นพัฒนาเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม ใน 3 ประเด็นย่อย คือ เมืองสะอาด เมืองเชื่อมโยง เมืองปลอดภัย นอกจากนี้ จังหวัดมีความโดดเด่นในการบริหารจัดการและพัฒนาฐานข้อมูล และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ของจังหวัด