ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมนำเสนอผลการศึกษาโครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจระยะที่ 3: ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบ NSW ของไทย

26 พ.ค. 2566
0
อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจระยะที่ 3: ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบ NSW ของไทย

เมื่อวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมประชุมการนำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบ NSW ของไทย ณ ธนาคารโลก สำนักงานประจำประเทศไทย ชั้น 30 อาคารสยามพิวรรธน์ ทาวเวอร์ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจระยะที่ 3 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. คำจำกัดความของ Single Window อ้างอิงตาม UN CEFACT คือ Single Window จะต้องประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางการค้าและการขนส่ง มีจุดบริการ “การยื่นแบบครั้งเดียว (single submission)” แบบอิเล็กทรอนิกส์ในระบบข้อมูลทางการค้าเพียงที่เดียว มีกรอบกฎหมายที่ชัดเจนอ้างอิงได้ และต้องใช้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารระหว่างคู่สัญญา

2. ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะของธนาคารโลก แบ่งได้ 3 ประเด็น ได้แก่

1) โมเดลในการดำเนินงาน (Functional Model) ของระบบ NSW: National Single Window (NSW) ของประเทศไทย จุดเด่นหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น แต่ยังคงมีช่องว่างในกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในปัจจุบัน National Single Window ของประเทศไทยยังไม่สอดคล้องกับรูปแบบ “การยื่นแบบครั้งเดียว (single submission)” ที่กำหนด ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความสะดวก ความเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงได้อย่างมาก และลดการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ และปัญหาบทบาทที่ทับซ้อนกันของผู้ให้บริการเสริม (Value Added Service providers – VASs) และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)
2) โครงสร้างธรรมาภิบาล (Governance Structure) ในการกำกับดูแลระบบ NSW: ปัจจุบันมี คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและกำกับดูแลระบบ National Single Window (NSW) และคณะทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งพบว่ายังไม่มีข้อตกลงระดับบริการ (Service Level Agreement – SLA) ที่ระบุอย่างชัดเจนที่จะเป็นมาตรฐานในการทำงานร่วมกับภาครัฐ รวมถึงให้ภาคเอกชนทราบถึงระยะเวลาของการให้บริการ และต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงในการทำงาน
3) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Legislation): ธนาคารโลกได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ National Single Window โดยกล่าวถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ของประเทศไทยในปัจจุบัน ช่องว่างทางกฎระเบียบ และกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ในอนาคตรัฐบาลควรมีการทบทวนกฎหมายและระเบียบเพื่อการพัฒนาหรือส่งเสริมความคิดริเริ่มใหม่ ๆ เช่น บทบาทของรัฐบาลใน National Digital Trade Platform หรือการดำเนินการ ASEAN Single Window อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้มีข้อซักถาม ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษา ซึ่งทางธนาคารโลกได้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนี้ ทางสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับธนาคารโลกจะมีการจัดประชุม เรื่อง แนวทางการประเมิน Business Ready (B-READY) ซึ่งจะเป็นการชี้แจงแนวทางการประเมินใหม่และนำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะจากโครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ระยะที่ 3 (Doing Business Phase 3) ในด้าน ได้แก่ ด้านการชำระภาษี ด้านการค้าระหว่างประและด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า