ข่าวสาร ก.พ.ร.

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2560

28 พ.ย. 2561
0
 

          คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. คือ รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2560 
          สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ตามหนังสือ สลค. ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/37710 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
          คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561
          1.รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2560 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
         2. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 
          3. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการไทยให้ทุกส่วนราชการทราบตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีต่อไปด้วย

        สำหรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีดังนี้ 

        สำนักงาน ก.พ. พิจารณารายงานการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2560 แล้ว เห็นด้วยในหลักการ โดยมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้

          1. การพัฒนาระบบราชการที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ควรเร่งส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐนำนโยบายของรัฐไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ ควรส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญของการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เป็นต้น และควรติดตามประเมินผลการดำเนินการพัฒนาระบบราชการของหน่วยงานของรัฐ เช่น ด้านการปรับบทบาทภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งดำเนินการนำร่องในกระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และขยายผลให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐโดยเร็ว
           2. ความผูกพันของบุคลากรภาครัฐ แนวโน้มและสัญญาณการพัฒนาองค์กร ซึ่งจากข้อเสนอแนะแนวทางในการยกระดับความผูกพันภาครัฐที่ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการปรับปรุงของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข พัฒนา เพื่อเป็นการยกระดับความผูกพันของบุคลากรใน 5 ประเด็น เช่น การสื่อสารสร้างความเข้าใจอย่างทั่งถึง เป็นต้น ควรมีการส่งเสริมให้ส่วนราชการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงเพื่อยกระดับความผูกพันของบุคลากรภาครัฐต่อหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 
      3. การก้าวไปสู่ระบบราชการ 4.0 มีความจำเป็นที่จะพัฒนาระบบนิเวศการบริการและการพัฒนาระบบราชการให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยนำนวัตกรรม ข้อมูล และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์บนหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการสาธารณะสนับสนุนให้มีการพัฒนาทักษะบุคลากรเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ปรับปรุงสภาพการทำงานภาครัฐให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว และสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อพัฒนาภาครัฐให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในการนี้ ควรเร่งดำเนินการให้มีการทบทวนกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความยืดหยุ่น เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศด้วย

     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้ว เห็นควรให้ความเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2560 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 71/10 (10) ที่กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามลำดับ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การพัฒนาระบบราชการไทยเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงาน ก.พ.ร. ควรผลักดัน ขับเคลื่อนและส่งเสริมการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ  


ข้อมูลจากหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
นฤมล (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มวิเทศสัมพันธ์และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า