ข่าวสาร ก.พ.ร.

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่ง พ.ร.บ. องค์การมหาชนฯ เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน

28 พ.ค. 2561
6

         คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. คือ เรื่อง ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน

         สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ตามหนังสือ สลค. ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/16157 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 ลงมติว่า

         1. เห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย         

         2. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งชี้แจงกับองค์การมหาชนที่ต้องนำแนวทางการบริหารของคณะกรรมการองค์การมหาชนไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนและมีความเข้าใจตรงกัน เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไป          

         3. ในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่ให้เกินกว่าร้อยละสามสิบของงบประมาณ ค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนในปีงบประมาณ ยกเว้นองค์การมหาชนที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะนั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไกในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็น และไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อพิจารณาเป็นประจำทุกปีด้วย เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การมหาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ         

         4. สำหรับประเด็น การใช้ระบบสัญญาจ้างกับเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชนทุกตำแหน่ง ให้องค์การมหาชนระบุรายละเอียดการจ้างงานในสัญญาจ้างให้ชัดเจน โดยเฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ตามผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นอยู่กับผลประกอบขององค์การมหาชน และไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษทุกปี เพื่อป้องกันการตีความที่แตกต่างกันระหว่างหน่วยงานกับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งให้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณระยะเวลาของสัญญาจ้างและหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อการเลื่อนหรือการดำรงอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อให้สัญญาจ้างมีสาระสำคัญที่ครบถ้วนสมบูรณ์มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถพัฒนาบุคลากรขององค์การมหาชนได้ตามเป้าหมายของหน่วยงานด้วย         

         5. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหน่วยงาน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 (เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการคงอยู่หรือยุบเลิกองค์การมหาชน) 

เป็นประจำทุกปีงบประมาณ เพื่อให้เกิดการประเมินผลสัมฤทธิ์และปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และให้พิจารณาส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการภาครัฐ (Citizen Engagement) ในสาขาและรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างเครือข่ายประชารัฐ และการถ่ายโอนภารกิจด้านการปฏิบัติไปให้หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งคำนึงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของภาครัฐและประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำคัญ 

ข้อมูลจาก หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
นฤมล (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มวิเทศสัมพันธ์และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า