พฤษภาคม 2566 UNESCO รับรอง Khorat Geopark จังหวัดนครราชสีมาเป็น Global Geopark แห่งที่ 2 ของประเทศไทย (แห่งแรกจังหวัดสตูล) และเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎทางธรรมชาติ (The UNESCO Triple Crown of Nature) หรือเมือง 3 มรดกโลก (The UNESCO Triple Heritage City) ด้วยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ และพื้นที่อุทยานธรณีโคราช
อุทยานธรณีโคราช (Khorat Geopark) มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง ครอบคลุม 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองฯ และ อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อมโยงกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และวิถีชีวิตผู้คนกว่า 4,000 ปี
จังหวัดนครราชสีมา ได้มุ่งยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ (Geotourism) เพื่อเป็น “อุทยานธรณีโลก” ของยูเนสโก (UNESCO)
ในปี 2565 ได้ดำเนินการใน 4 เรื่อง เพื่อรองรับการเป็น Global Geopark ของ UNESCO ประกอบด้วย
- จัดทำฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์
- จัดทำเส้นทางท่องเที่ยว โปรแกรมท่องเที่ยว และสื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ YouTube : Khorat Geotourism Official , Website : khoratgeoparkguide ฯลฯ
- ยกระดับชุมชนท่องเที่ยวจนได้รับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 2 ชุมชน และมาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety & Health Administration) 6 ชุมชน
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
“เที่ยวโคราช เที่ยวสนุก สุขใจ ได้ความรู้ เคียงคู่ชุมชน”