ข่าวสาร ก.พ.ร.

Thai Water คลังข้อมูลสถานการณ์น้ำทั่วไทย

11 ก.ย. 2566
0

“น้ำ” เป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืช
“น้ำ” จำเป็นต่อมนุษย์ทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และสาธารณูปโภค
“น้ำ” ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก

 เมื่อ “น้ำ” สำคัญ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. จึงพัฒนา “ระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำ Thai Water” เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลน้ำของประเทศ โดยเชื่อมโยงข้อมูลจาก 52 หน่วยงาน 12 กระทรวง ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ติดตามสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศด้วยตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net และ Application “ThaiWater”

และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดกิจกรรมเสวนา KM Online หัวข้อ “ระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำ Thai Water ตอบโจทย์พื้นที่ ตรงใจประชาชน” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ทุก ภาคส่วนใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำ Thai Water ในการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมเสวนา อาทิ

นายไมตรี อินทุสุต ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นมองว่า สถานการณ์ปัจจุบันต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่ เพราะน้ำคือความมั่นคงของชีวิตในทุกมิติ ตอบโจทย์ SDG ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม/ความยั่งยืน ดังนั้น คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ (Thai Water) จะเป็น Data Driven ที่ทำให้เข้าถึง เข้าใจ เข้าใกล้ และพัฒนาในพื้นที่ ที่สำคัญสามารถติดตาม คาดการณ์ เฝ้าระวัง และเตือนภัยด้านน้ำได้ทันสถานการณ์ เพราะข่าวสารคืออำนาจ ข้อมูลคือพลัง

นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เห็นว่า ข้อมูลน้ำเป็นสิ่งสำคัญ เป็นต้นทางของ การบริหารจัดการน้ำชุมชน โดยเฉพาะข้อมูลระดับชุมชน/ท้องถิ่น ดังนั้น ชุมชนต้องมีส่วนร่วมวางนโยบาย/ร่วมตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั่วถึง และเป็นธรรม

ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ รอง ผอ.สสน. สร้างความเชื่อมั่นโดยชี้ให้เห็นว่า คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติมีความทันสมัยและทันเหตุการณ์ เพราะมีระบบโทรมาตรอัตโนมัติตรวจวัดสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำ มีโครงข่าย GNSS CORS มีเทคโนโลยีสำรวจทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และมีแบบจำลอง ที่สำคัญมีศูนย์ข้อมูลน้ำระดับจังหวัด 76 จังหวัด ช่วยให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง เพิ่มน้ำต้นทุน/น้ำสำรอง โดยมี สสน. เป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิค องค์ความรู้ รวมกับการใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ภูมิปัญญาของพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนมีข้อมูลน้ำในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายวีฤทธิ กวยะปาณิก เลขานุการนายก อบจ.แพร่/ผู้แทนศูนย์บริหารจัดการน้ำ จ.แพร่ ได้กล่าวถึงความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต จากการเชื่อมโยงคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ กับข้อมูลน้ำระดับพื้นที่ จนเกิดเป็นผังน้ำจังหวัดที่มีความละเอียด มีการจัดทำข้อมูลโครงสร้างแหล่งน้ำจังหวัด การรายงานสถานการณ์น้ำและอากาศผ่าน Line ให้กับเครือข่ายทุกวัน เพื่อใช้ตัดสินใจบริหารจัดการน้ำ สามารถติดตาม แจ้งเตือน และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุดในภาวะวิกฤต

นายพฤทธิพงศ์ ทัศน์อัญชุลีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาโครงสร้างทางชลศาสตร์ สสน. เห็นว่า คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สามารถใช้อ้างอิง/ถอดบทเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนที่ดิจิทัล การใช้ความรู้ทางชลศาสตร์/ความเหมาะสมทางวิศวกรรม/การมีวิศวกรน้ำชุมชน เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และชุมชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองและพึ่งตนเองได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า