ข่าวสาร ก.พ.ร.

นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา

29 ธ.ค. 2565
0
นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา

เมื่อวันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565 นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา เพื่อติดตามภาพรวมแนวทางการดำเนินการหน่วยงานของรัฐและแผนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ เป็นประธาน โดยรองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้ชี้แจงให้คณะกรรมาธิการฯ ทราบถึงการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ ของสำนักงาน ก.พ.ร. ภายหลังจากพระราชบัญญัติฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้

  1. แผนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่การแจ้งเตือนทุก 15 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานของรัฐทั้งจากการมอบนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) และรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และการให้คำแนะนำคำปรึกษาจากหน่วยงาน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  2. การแจ้งให้หน่วยงานของรัฐเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ เช่น การลงทะเบียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางของหน่วยงานกับ สพร. เพื่อเป็นช่องทางพื้นฐานสำหรับหน่วยงานของรัฐในการติดต่อหรือรับบริการจากประชาชน รวมทั้งการออกประกาศ/คำสั่งของหัวหน้าหน่วยงาน ตามมาตรา 10 และ 16 ซึ่งหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการได้ในขณะนี้เพื่อให้ประชาชนรับทราบช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อกับหน่วยงาน โดยในอนาคตหากมีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดแล้ว หน่วยงานสามารถปรับทบทวนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ให้สอดคล้องกับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
  3. การแจ้งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ตามมาตรา 22 วรรคสอง ซึ่งเป็นการออกหนังสือเวียนแจ้งเตือนแก่หน่วยงานภาครัฐ มาแล้วจำนวน 4 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งที่มีการแจ้งเตือนจะมีเนื้อหาการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฯ ในประเด็นต่าง ๆ เช่น แผนการดำเนินการ แนวปฏิบัติ ตัวอย่างการดำเนินการ คำถามที่พบบ่อย การประกาศ/คำสั่ง สิ่งที่หน่วยงานต้องดำเนินการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดคลินิกให้คำปรึกษาระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เพื่อเป็นการส่งเสริมสร้างความเข้าใจและตอบข้อสงสัยจากหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งการจัดเวทีสัญจร (Roadshow) ทั้ง 4 ภาค เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ครอบคลุมถึงส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

ภายหลังจากคณะกรรมาธิการฯ ได้รับฟังการชี้แจงแล้ว มีข้อสังเกตและคำแนะนำให้กับสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนี้

  1. ในการดำเนินการผลักดันให้เกิดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ควรคำนึงถึงการยืนยันความถูกต้อง/วิธีการตรวจสอบของเอกสารหรือข้อมูลที่ประชาชนเป็นผู้ยื่นด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีความพร้อมทางด้านงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยีน้อย
  2. ควรมีการติดตามผลและวัดความสำเร็จของการปรับเปลี่ยนกระบวนการเป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ว่าสัดส่วนของผู้มาใช้บริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมถึงกระบวนการปฏิบัติงาน ขั้นตอน ระยะเวลาที่ใช้ ค่าใช้จ่าย ลดลงหรือไม่
  3. ควรประชาสัมพันธ์และการสื่อสารให้ลงไปถึงระดับ อปท. หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีความเข้าใจและสามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ได้ด้วย

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ขอให้สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ ให้ทราบเป็นระยะ เพื่อจะช่วยประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจให้กับประชาชนได้ทราบถึงประโยชน์และวิธีการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติฯ นี้ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า