ข่าวสาร ก.พ.ร.

เวทีสัญจร 4 ภาค ขับเคลื่อนการยกระดับการอำนวยความสะดวกเพื่อประชาชน ครั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

11 ม.ค. 2566
0
เวทีสัญจร 4 ภาค ขับเคลื่อนการยกระดับการอำนวยความสะดวกเพื่อประชาชน ครั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ให้กับหน่วยงานส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ณ โรงแรมเซ็นทาราริเวอร์ไซด์ จังหวัดเชียงใหม่

ในช่วงเช้า เป็นการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นใน 3 เรื่อง คือ

  1. แนวทางการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกฯ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทิศทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการภาครัฐในระยะต่อไป โดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร.
  2. สาระสำคัญและการเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ โดย นายจินตพันธุ์ ทังสุบุตร ผู้อำนวยการกองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และนางวณิสรา สุขวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.
  3. ระบบข้อมูลการติดต่อราชการ www.info.go.th ที่หน่วยงานต้องดำเนินการ โดย ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

สำหรับช่วงบ่าย เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ โดย ดร.อาศิสฯ

ในช่วงท้ายของการประชุมสัมมนาได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมประเมินสถานะการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง พบว่า หน่วยงานในภูมิภาคส่วนใหญ่มีความพร้อมและมีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ

นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนในพื้นที่ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ โดยมีหน่วยงานร่วมให้ความเห็น อาทิ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ ซึ่งในภาพรวมเห็นด้วยกับหลักการของการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เช่น การพัฒนาระบบอนุญาตหลัก (Super License) การจัดให้ช่องทาง Fast track การจัดให้มีแบบฟอร์มภาษาอังกฤษเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐเพิ่มเติมในหลายประเด็น เช่น

  • หน่วยงานภาครัฐควรเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ แบบ real time เพื่อให้ภาคเอกชนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ทันท่วงที เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) เป็นต้น
  • การออกมาตรการของภาครัฐอย่างรอบคอบเพื่อลดกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่าง ๆ
  • ควรขยายผลหน่วยงานภาครัฐที่มีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การขออนุญาตก่อสร้างอาคารออนไลน์ ของเทศบาลเมืองแม่เหียะ เพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นดำเนินการ
  • หน่วยงานภาครัฐควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันเพื่อลดภาระด้านต่าง ๆ และอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน
  • การสื่อสารและส่งเสริมการใช้ใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ทางอิเล็กทรอนิกส์ไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับมัคคุเทศก์

ผู้ใดสนใจยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่
โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 13 ม.ค. 66
โรงแรมนิวซีซั่นสแควร์ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 20 ม.ค. 66
โรงแรมอัศวิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 27 ม.ค. 66

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า