ข่าวสาร ก.พ.ร.

การขยายผลการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่

12 ม.ค. 2566
0
การขยายผลการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) ผอ.กองนวัตกรรมบริการภาครัฐ (นายธนศักดิ์ มังกโรทัย) ผอ.กองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (นางสาวนภนง ขวัญยืน) เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) UNDP แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 3 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่่) และสภาลมหายใจภาคเหนือ

โดยสามารถสรุปผลการประชุม ได้ดังนี้

1. สำนักงาน ก.พ.ร.ได้มีการนำเสนอประเด็นต่าง ๆดังนี้

1.1 กรอบแนวทางการเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP)
1.2 การสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดสิงห์บุรี และลำปาง
1.3 แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การแก้ไขปัญหา PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2565

2. ผลจากการประชุมหารือ สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

2.1 พื้นที่ปฏิบัติการ : คัดเลือกพื้นที่สำคัญ โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก พื้นที่ป่าอุทธยานฯ พื้นที่ชุมชนที่ติดกับพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรที่อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ที่มีข้อมูลสนับสนุน และมีฐานการทำงานเดิมอยู่แล้ว เช่น ออบหลวง อมก๋อย หัวยน้ำดัง แม่โถ แม่แจ่ม เชียงดาว ฮอด ฯลฯ
2.2 แนวทางแก้ไขปัญหาตามกรอบ OG&MP ได้แก่

(1) การเปิดเผยข้อมูล : เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น ค่าฝุ่นในแต่ละพื้นที่แบบ Real Time เป็นประจำทุกวัน ข้อมูลแนวกันไฟ พื้นที่ชิงเผาของภาครัฐ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน แผน งบประมาณ โครงการ งบประมาณกลุ่มจังหวัด เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
(2) ตัวชี้วัด : ปรับเปลี่ยนรูปแบบการวัด โดยมุ่งเน้นการวัดผลเชิงคุณภาพ และให้มีการบูรณาการตัวชี้วัดร่วมกันระหว่งฝ่ายปกครองและสาธารณสุข เช่น การวัดพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซากทั้งภาคเกษตรและภาคป่าไม้ สุขภาพของประชาชน จำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน มากกว่าการวัดเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนจุดความร้อน (Hotspots) เนื่องจากการวัดเฉพาะจุดความร้อนจะมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วย เช่น เอลนีโญ ลานีญา จะทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริง ซึ่งในอนาคตจะก่อให้เกิดปัญหาในการประเมินผลของภาคราชการอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ควรเพิ่มเติมพื้นที่การวัดผลจากระดับจังหวัด ไปสู่ระดับตำบลและอำเภอด้วย
(3) เทคโนโลยีและนวัตกรรม : จัดทำ Ventilation Map (แผนที่แสดงการระบายอากาศ) เพื่อมุ่งสู่ระบบ Fire Management อย่างเต็มรูปแบบ และนำนวัตกรรมและเทคโลยีมาใช้ เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่น ห้องปลอดฝุ่น มุ้งสู้ฝุ่น รวมทั้งติดตั้ง low cost sensor ในทุกตำบล เขตชุมชนใหญ่ และพื้นที่เสี่ยง เพื่อแจ้งเตือนแก่ประชาชนและนำไปสู่การวางแผนการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
(4) องค์ความรู้ : นำองค์ความรู้และงานวิจัยเข้ามาใช้สนับสนุนการทำงานของพื้นที่ เช่น การจำแนกต้นเหตุและแหล่งกำเนิดมลพิษ การปรับเปลี่ยนพืชเกษตรรูปแบบใหม่ จากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่การปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นทดแทน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาชีพ รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของฝุ่นต่อสุขภาพของประชาชน อาทิ เรื่องมะเร็งปอด เป็นต้น นอกจากนี้ควรสนับสนุนงานวิจัยที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการปลูกข้าวโพดและพืชชนิดอื่น และนำเสนอให้เห็นข้อดีของการเปลี่ยนรูปแบบในการทำการเกษตร รวมถึงให้การสนับสนุนตั้งแต่การให้องค์ความรู้ไปจนถึงการหาตลาดเพื่อจัดจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรให้แก่คนในชุมชน
(5) แรงจูงใจ : ส่งเสริมเรื่อง Carbon credit ในพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงกับเรื่อง climate change และ BCGs

การดำเนินการในระยะต่อไป : สำนักงาน ก.พ.ร. จะลงพื้นที่เพื่อขยายผลการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 31 ม.ค. 2566

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า