ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 1/2566

18 ม.ค. 2566
0
การประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 1/2566

เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งมีการพิจารณาและรับทราบวาระต่าง ๆ ดังนี้

1. พิจารณาเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Open Government Partnership (OGP) และการจัดทำ (ร่าง) รายงาน Open Government in Thailand ประจำปี 2566 โดยสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ 6 แนวทาง ดังนี้

1.1 การรวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทำรายงานจัดส่งให้ OGP
1.2 การเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งในรูปแบบ on-site และ online รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางในการสร้างการมีส่วนร่วมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) อย่างต่อเนื่อง
1.3 การส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญของการเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนางานด้วยการมอบรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
1.4 การพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaninful Participation : OG & MP) โดยการขยายผลต้นแบบที่มีการนำร่อง ใน agenda ต่างๆ ทั้งเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 และการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) ในระดับท้องถิ่น ไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
1.5 การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยใช้เนื้อหา และรูปแบบที่น่าสนใจ และเข้าถึงได้ง่าย ผ่านช่องทางต่าง ๆ เน้นที่ช่องทางออนไลน์
1.6 การขอรับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อยกระดับภาคประชาสังคม ใน 3 ส่วนคือ

  1. การส่งเสริมให้มีการเปิดเผย จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลของชุมชนอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
  2. การถอดบทเรียนการโครงการหรือกิจกรรมที่ภาครัฐทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานเสนอต่อ OGP ในฉบับต่อไป
  3. การเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ผู้แทนภาคประชาสังคมที่เป็นกรรมการอยู่ในคณะต่าง ๆ ให้สามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อไป

นอกจากนี้ ในส่วนของรายงาน Open Government in Thailand ที่จะจัดส่งให้ OGP นั้น อ.ก.พ.ร.ฯ ได้มีความเห็นให้เพิ่มเติมข้อมูลเพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องของการมีส่วนร่วมในระดับรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงโครงการ หรือกิจกรรมที่โดดเด่นที่เปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในระดับสูง เป็นต้น ทั้งนี้ รายงานดังกล่าว จะจัดส่งให้ OGP ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ และยังมีความเห็นให้เผยแพร่รายงานไปยังภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อไป

2. พิจารณาเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมกลุ่มเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับภาครัฐ โดยสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

2.1 การดำเนินการในระดับพื้นที่ : ให้ อ.ก.พ.ร.ฯ พิจารณาจัดประชุมหารือกับคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ สมาชิกวุฒิสภา เพื่อขับเคลื่อนการขยายผล Model ของโรงเรียนมีชัยพัฒนาไปยังโรงเรียนต่าง ๆ เช่น การให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ โดยมีเยาวชนช่วยอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ หรือการใช้โรงเรียนเป็นฐานในการสร้างความร่วมมือในเรื่องต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหา PM 2.5
2.2 การดำเนินการในระดับหน่วยงานของรัฐ : ให้พิจารณานำข้อเสนอของเยาวชนที่ได้จากการจัดเสวนา เรื่อง บทบาทเยาวชนในการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ไปเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ และเปิดพื้นที่ให้เยาวชนร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขในเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการศึกษา เป็นต้น

 3. รับทราบการดำเนินการ 2 เรื่อง ประกอบด้วย

3.1 สรุปผลการประชุมหารือแนวทางการเตรียมการเพื่อขยายผลการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะดำเนินการร่วมกับ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค และนำผลการประชุมดังกล่าวไปใช้ในการประชุมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ในวันที่ 31 มกราคม 2566 ต่อไป
3.2 ผลการจัดกิจกรรมพลเมืองเคลื่อนรัฐ OpenGov for Citizen โดยมีการดำเนินการในครั้งที่ 1 ไปแล้วที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ซึ่งได้ข้อเสนอจากประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานของจังหวัดใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) ลดหนี้สินขจัดความยากจน 2) ลดขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ 3) ลดอุบัติเหตุภัยร้ายทางถนน และมีการจัดกิจกรรมในครั้งที่ 2 มีจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 และที่ประชุมเสนอให้พิจารณานำกิจกรรมดังกล่าวมาจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดเป้าหมายในการขยายผลเรื่อง OG&MP เพิ่มเติมด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า