ข่าวสาร ก.พ.ร.

รวมพลังฝ่าวิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 ววน. จับมือ ก.พ.ร. ลุยแก้ปัญหาระดับจังหวัด

8 ก.พ. 2566
0
รวมพลังฝ่าวิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 ววน. จับมือ ก.พ.ร. ลุยแก้ปัญหาระดับจังหวัด

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศ.พิเศษ ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล) ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สกสว. (รศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์) ร่วมแถลงข่าว “รวมพลังเครือข่ายภาคีนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ แก้วิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 “ จับมือ ก.พ.ร. นำร่องพื้นที่เป้าหมายใน 2 จังหวัดลำปาง และสิงห์บุรี พร้อมขยายผลต่อในเชียงใหม่และขอนแก่นที่มีแนวโน้มค่าฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้น

โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. สำนักงาน ก.พ.ร. และ สกสว. ได้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ผ่านกลไกการทำงานของ อ.ก.พ.ร. ส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนรวมอย่างมีความหมาย โดยคัดเลือก เรื่อง การแก้ไขปัญหาและลดฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของประเทศ โดยดำเนินการนำร่องในจังหวัดลำปางและสิงห์บุรี
  2. สกสว. ได้ดำเนินการร่วมกับ อ.ก.พ.ร. ส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม โดยนำ Low-cost sensor (DUSTBOY) มาติดตั้งในจังหวัดลำปางและสิงห์บุรี เพื่อแสดงค่าฝุ่นละออง และเชื่อมโยงฐานข้อมูล แสดงผลบนแพลตฟอร์มกลาง http://pm25air.opengovernment.go.th ซึ่งพัฒนาโดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ GISTDA แสดงผลแบบ Real Time เช่น ข้อมูลจุดเกิดไฟไหม้ในพื้นที่โล่ง ข้อมูลการขออนุญาตจัดการการเผา ฯลฯ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญและสามารถบริหารจัดการปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งได้มีการคัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อมาใช้ประโยชน์ ดังนี้

             จังหวัดลำปาง : คัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดการเผา เช่น แพลตฟอร์มการสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ดูแลรักษาป่าผ่านกลไกการตอบแทนคืนให้แก่ระบบนิเวศ (PES) รวมถึงการขยายผลงานวิจัยการบริหารจัดการป่าชุมชน การเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรประณีต เป็นต้น

              จังหวัดสิงห์บุรี : คัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และสร้างรายได้จากเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น แพลตฟอร์มที่ให้เกษตรลงทะเบียนในระบบติดตามการลดเผาเพื่อรับประโยชน์จากการจัดการชีวมวล การแปรรูปเศษชีวมวลเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และระบบโลจิสติกส์เพื่อจัดการการซื้อขายเศษวัสดุเกษตร เป็นต้น
  3. ผลการติดตามประเมินผล พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 จุดความร้อนในจังหวัดลำปางและสิงห์บุรี ลดลงกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยใน 5 ปี ก่อนหน้า จังหวัดลำปางเกิดจุดความร้อนลดลงจากปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 61 และพื้นที่เกิดไฟไหม้ลดลงร้อยละ 88 และในจังหวัดสิงห์บุรีปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบลดลงจากปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 13 และสถิติการลอบเผาตอซังข้าว และเศษวัสดุเกษตรอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 29
  4. การดำเนินงานต่อไป : สกสว. จะร่วมมือกับหน่วยงานในระบบ ววน. สำนักงาน ก.พ.ร. และกรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการต่อเนื่อง ในจังหวัดลำปางและสิงห์บุรี และขยายผลไปในจังหวัดเชียงใหม่ และเตรียมการขยายผลในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีแนวโน้มค่าฝุ่นละอองสูงขึ้นจากอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สกสว. ได้เสนอแผนการขับเคลื่อนการนำผลงานและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในปีงบประมาณ 2567 อีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า