ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) ครั้งที่ 1/2566

10 ก.พ. 2566
0
การประชุมคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) ครั้งที่ 1/2566

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เข้าร่วมประชุม

ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามมติที่ประชุมครั้งที่ผ่านมา อาทิ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกตามแผนการขับเคลื่อนมาตรการ LTR การดำเนินการด้านงบประมาณ การรับสมัครตัวแทนที่ได้รับการรับรอง รวมถึงการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือแนวทางการปรับปรุงมาตรการ พร้อมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินการในวาระต่าง ๆ ดังนี้

  1. การปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับการทำงานในประเทศไทยของผู้ขอรับรองคุณสมบัติ Long-Term Resident Visa (LTR Visa) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (Highly Skilled Professional) โดยเพิ่มเติมอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล รวมถึงอุตสาหกรรมเป้าหมายของ Smart Visa เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการพิจารณารับรองคุณสมบัติแก่ชาวต่างชาติที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
    ในสาขาที่ประเทศยังขาดแคลน เช่น อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
  2. การรับรองนิติบุคคลให้ดำเนินการเป็นตัวแทนให้แก่ชาวต่างชาติที่ยื่นขอรับรองคุณสมบัติ ขอตรวจลงตราและขออนุญาตทำงานภายใต้ LTR Visa ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามที่กำหนด ซึ่งคณะกรรมการฯ ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ควรมีการกลไกติดตามประเมินผลการดำเนินการของตัวแทนเพื่อให้การให้บริการเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ประธานได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดให้มีเวทีร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการเรื่องต่าง ๆ ของภาครัฐ และรับฟังปัญหาอุปสรรครวมถึงข้อเสนอแนะของภาคเอกชนเพื่อพัฒนาบริการภาครัฐที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนและการประกอบธุรกิจเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

นอกจากนี้ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของธนาคารโลก ภายใต้ชื่อรายงาน Business Enabling Environment (BEE) โดยมีประเด็นหลักในการประเมิน 3 เรื่อง ได้แก่ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (Digital adoption) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental sustainability) และความเสมอภาคทางเพศ (Gender equality) ให้ที่ประชุมรับทราบเพิ่มเติมด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า