ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

24 ก.พ. 2566
0
สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

เมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน

ภาคเช้า เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแชร์ประสบการณ์จากภาครัฐและภาคเอกชน ในหัวข้อ “Digital Transformation”

วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ (อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา)

  • ภาครัฐควรทำในสิ่งที่ ประชาชน อยากได้ โดยไม่ควรทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
  • ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนไป ภาครัฐต้องพัฒนางานบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยนำ Digital Solution เข้ามาประยุกต์ใช้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการที่ตรงความต้องการมากขึ้น และใช้ระยะเวลาที่ลดลง
  • ปัจจัยสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล คือ ผู้นำ และการปรับเปลี่ยน mindset ของทุกคนในองค์กร

อภิรัตน์ หวานชะเอม (Chief Digital Officer, SCG)

  • SCG ให้ความสำคัญกับการ พัฒนาคน เพราะมองว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล
  • ปัจจุบันเป็น ยุคของมนุษย์เป็ดสร้างนวัตกรรม : ในยุคแห่งการสร้างนวัตกรรมในปัจจุบันที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวให้ทำซ้ำ การมีทักษะเชิงลึกเฉพาะทางเพียงสาขาเดียวอาจไม่ได้ตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรมที่ต้องคิดเส้นทางใหม่ วิธีการใหม่ และกล้าเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป

 ในทางกลับกัน คนที่เรานิยมเรียกกันว่า ‘เป็ด’ เคยเป็นความหมายที่ถูกมองว่าแม้จะว่ายน้ำได้แต่ดำน้ำไม่ได้ บินได้แต่ไม่สูง เดินได้แต่ไม่เร็ว แต่ลืมไปว่าการเป็นเป็ดของมัน ทำให้มันเข้าใจการบินบนอากาศแบบนก เข้าใจการเดินบนพื้นแบบเสือชีตาห์ เข้าใจการว่ายน้ำของสัตว์น้ำ —> การรู้กว้างแบบ Generalist

SCG มองการสร้างนวัตกรรมว่าต้องมองให้ครบทั้ง 3 มิติ คือ

  1. สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ (Desirability) : มองถึงการใช้งานที่ทำให้ชีวิตของผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ที่หากเรามัวแต่สร้างเทคโนโลยีให้ล้ำหน้าที่สุดเพียงอย่างเดียว คงจะไม่ตอบโจทย์ตรงนี้แน่ ๆ
  2. สามารถทำได้จริง (Practicality) หลายครั้งที่ไอเดียของเราสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ แต่ยังไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้จริง มันก็จะเป็นเพียงไอเดียเท่านั้น นวัตกรรมที่ดีจึงต้องสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จริง จึงจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ได้
  3. สามารถสร้างรายได้ได้ (Feasibility) นวัตกรรมที่ดีจะต้องทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจได้ด้วย เพราะการทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจนอกจากจะทำให้ผู้คิดค้นหรือองค์กรอยู่ได้แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้อีกด้วย

ฐิติมา รุ่งผาติ (TH Principal Account Manager, AWS)

  • การขับเคลื่อน Digital Transformation คือ หน้าที่ของทุกคนในองค์กร
  • Digital Transformation is not a technology; it is a way of thinking and operating
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล คือ การสร้างวัฒนธรรม “Culture” โดยต้องคำนึงถึง (1) Mindset (2) Skillset และ (3) Toolset

ภาคบ่าย เป็นการชี้แจงของสำนักงาน ก.พ.ร. ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ (1) การขับเคลื่อนงานด้านการปรับบทบาทภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ (2) ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2566 – 2570) และ (3) แนวทางการประเมินตัวชี้วัด PMQA 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2566

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ทาง https://drive.google.com/drive/folders/1Rfx9WSFzhD_nobJwsB6BHYt3qSxsCJem?usp=sharing

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า