ข่าวสาร ก.พ.ร.

สรุปผลการจัดกิจกรรมเสวนา KM Online หัวข้อ “ผนึกกำลัง หยุดยั้ง PM 2.5 จากระบบเปิดภาครัฐ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่”

2 มี.ค. 2566
0
สรุปผลการจัดกิจกรรมเสวนา KM Online หัวข้อ “ผนึกกำลัง หยุดยั้ง PM 2.5 จากระบบเปิดภาครัฐ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่”

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดกิจกรรมเสวนา KM Online หัวข้อ “ผนึกกำลัง หยุดยั้ง PM 2.5 จากระบบเปิดภาครัฐ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook Live และ YouTube Live สำนักงาน ก.พ.ร.) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากทุกจังหวัด/ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ จังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้สนใจทั่วไป รวมกว่า 2,200 คน นำทีมโดยวิทยากรภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ การทำงานแก้ไขปัญหา PM 2.5 ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าศูนย์ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center : CCDC) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายไมตรี อินทุสุต ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับ การส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ประธานเปิดการเสวนา ได้กล่าวถึงบทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา PM 2.5 โดยจัดทำ Model การมีส่วนร่วมและใช้นำร่องในพื้นที่ จ.ลำปาง และ จ.สิงห์บุรี รวมทั้งเป็น Agenda/ประเด็นปลดล็อกของจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง โดย จ.เชียงใหม่ได้ถอดบทเรียนที่สามารถใช้เป็นต้นแบบการบูรณาการทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับใช้กับพื้นที่ต่าง ๆ

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบ เปิดและการมีส่วนร่วม ได้นำเสนอกรอบแนวทางการเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation : OG & MP) 8 องค์ประกอบ โดยเน้นย้ำว่า “การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย” เป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในทุกระดับ ทั้งการให้ข้อมูล/ความเห็น ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงาน และร่วมติดตามประเมินผล ทั้งนี้ สาเหตุที่เลือก ปัญหา PM 2.5 เนื่องจากมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อชีวิตของประชาชน โดยนำ OG & MP ไปเสริม/ยกระดับการทำงานเชิงพื้นที่ของจังหวัด

นางกานดาศรี ลิมปาคม 
รอง ผอ.สนง.พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA/สทอภ.) ได้นำเสนอเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม และการให้บริการดาวเทียม รวมทั้ง การแปลผล/การนำไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา PM 2.5 ทั้งการติดตามสถานการณ์ การประเมินแหล่งที่มา การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล และการใช้ App. ต่าง ๆ เช่น “Burn Check” ในการจัดระเบียบการเผาในที่โล่ง App.“เช็คฝุ่น” แสดงปริมาณฝุ่น โดยจะมีการพัฒนานวัตกรรมดาวเทียม/เครื่องตรวจวัด พร้อมทั้งมาตรการที่ใช้
ทั้งนี้ การให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นายระพีศักดิ์ มาลัยรุ่งสกุล ผอ.สนง.สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 (ลำปาง) ได้นำเสนอ สถานการณ์ความรุนแรงและมาตรการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ของ จ.ลำปาง โดยปี 2562 – 2564 มีความรุนแรง จังหวัดจึงแก้ไขโดยใช้ Single command โดยลดสาเหตุการเกิด PM 2.5 ให้มากที่สุด ลดมาตรการเชิงลบ แต่เพิ่มมาตรการเชิงบวก จุดแตกหักอยู่ที่ความร่วมมือของชุมชน มีการจัดทำพื้นที่ต้นแบบ “ดอยพระบาท” การใช้เครือข่ายป่าชุมชน (ดำเนินการร่วมกับ SCG) การบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บลดเผา” การเปลี่ยนใบไม้/วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเงิน/เป็นรายได้ให้กับชุมชน (ดำเนินการร่วมกับ SCG และ Kubota) ทั้งนี้ ปัญหาไฟกองเล็กกองน้อยในหัวไร่ปลายนา/ในชุมชนยังต้องให้ความสำคัญ และ PM 2.5 เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมกันป้องกันและแก้ไข

นายสมคิด ปัญญาดี ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่ ได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่จังหวัดที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการห้ามเผา (Zero Burning) และปรับเปลี่ยนไปใช้มาตรการบริหารจัดการไฟ (Fire Management) หรือ “ไฟจำเป็น” ซึ่งยอมรับความจริงที่ประชาชนยังต้องใช้ไฟ/การเผา โดยใช้ App. FireD ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้การจุดไฟ มีวงจำกัด ควบคุมได้ ซึ่งต่อมาได้มอบให้อำเภอและตำบลบริหารจัดการไฟในพื้นที่ตนเอง มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำพลังงานชีวมวลของภาคเอกชนและศูนย์รับซื้อ นอกจากนี้ ยังใช้มาตรการทางกฎหมาย อย่างเข้มข้นทั้งในและนอกพื้นที่ป่า สำหรับปัญหาสำคัญในการทำงาน คือ ตัวชี้วัดที่ไม่สะท้อน ซึ่งควรมีการทบทวนเนื่องจากจังหวัดมีจำนวนจุดความร้อนน้อยแต่กลับมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ปัญหาการจัดสรรงบประมาณ ปัญหาระเบียบกฎหมายในการนำเศษใบไม้กิ่งไม้ออกนอกพื้นที่ป่า สำหรับการทำงานที่โดดเด่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ส่วนข้อเสนอ ควรกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพราะใกล้ชิดประชาชน

นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้ให้มุมมองว่า PM 2.5 เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อน ต้องแก้ไขแบบล่างขึ้นบน สร้างการมีส่วนร่วมแบบ win – win โดยชุมชนและท้องถิ่นสำคัญที่สุดเพราะอยู่ติดดิน ติดน้ำ ติดป่า ต้องเป็นพลังลมหายใจเดียวกัน และต้องคำนึงว่า PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ทุกประเภททั้งพื้นที่ป่า พื้นที่การเกษตร เกษตรเชิงเดี่ยว ชุมชน การคมนาคมขนส่ง โรงงาน รวมทั้งจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ การทำงานของสภาลมหายใจเชียงใหม่ คือ การเชื่อมพลังภาคีทุกภาคส่วน ต้องเปลี่ยนจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ต้องใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนหลัก อปท.เป็นแกนประสาน ส่วนภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ร่วมสนับสนุน โดยเน้นยุทธศาสตร์การป้องกันมากกว่าการเผชิญเหตุ ต้องแก้ไขปัญหาตามบริบทของพื้นที่บนฐานข้อมูล/ความรู้/งานวิจัย โดยจัดทำแผนแต่เนิ่นๆ จัดทำ Sandbox และใช้กลไก
ภาคประชาสังคม ฯลฯ

สำหรับ Next step ของสำนักงาน ก.พ.ร. ยังคงเสริมการทำงานร่วมกับ จ.ลำปาง และ จ.สิงห์บุรี ส่วน จ.เชียงใหม่ ได้เริ่มดำเนินการ “พื้นที่ปฏิบัติการ” (Sandbox/Government Lab) ดอยสุเทพ-ปุย ทั้งนี้จะจัดทำข้อมูล Open data เพิ่มเติม เพิ่มการพยากรณ์ ทำ Action Research/ถอดบทเรียน บูรณาการแผน ปรับปรุงระบบบริหารจัดการไฟ และปรับปรุงตัวชี้วัด/การประเมินตรวจสอบ ต่อไป

สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่   Facebook : https://fb.watch/i_oWkA3fUt/

Dowload เอกสารได้ที่ : http://opdc.link/YjhjYQ หรือ https://bit.ly/pmattached

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า