ข่าวสาร ก.พ.ร.

สรุปผลการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5

19 ก.พ. 2568
37

         เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสรุปผลการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมีนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. เป็นประธานการประชุม

         ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

         ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์)  รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) อนุกรรมการฯ (รศ.ดร. สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ และนายสุนิตย์ เชรษฐา) ประธานสภาลมหายใจ กรุงเทพมหานคร (นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์) ผู้แทนจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

         หน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 13 บริษัท ได้แก่ บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จํากัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท จึงพัฒนา โฮลดิ้ง จํากัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (มหาชน) (กลุ่มมิตรผล) บริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จํากัด (กลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง) บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)   บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด (STC Group) บริษัท บีบีจีไอ ไบโอดีเซล จํากัด และบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

         สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

  • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม  การลงทุน ประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (BOI) ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นแนวทางดำเนินการ เพื่อให้เกิดการขยายผลและเกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5
  • บริษัทเอกชนที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ผ่านมาตรการ BOI ในปี พ.ศ. 2567  มีจำนวน 6 บริษัท วงเงินสนับสนุนรวม 133.93 ล้านบาท สำหรับในปี พ.ศ. 2568 มีบริษัทเอกชนแจ้งความประสงค์  เข้าร่วมฯ ผ่านมาตรการ BOI และ CSR จำนวน 9 บริษัท วงเงินสนับสนุนรวม 223.85 ล้านบาท (ข้อมูลจำนวนบริษัท  ที่เข้าร่วมมาตรการฯ และวงเงินสนับสนุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เนื่องจากบางบริษัทอยู่ระหว่างเสนอผู้บริหารพิจารณา)
  • แนวทางการขอรับการส่งเสริมตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

         – ภาคเอกชนที่เข้าร่วมมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 120% ของเงินลงทุน

         – รายการที่นับเป็นเงินลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างแนวป่าเปียก/ฝายชะลอความชุ่มชื้น/จุดเฝ้าระวังไฟป่า/ปรับปรุงเรือนเพาะกล้าไม้เพื่อนำไปปลูกป่า ค่าซื้อเครื่องจักร/อุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังและดับไฟป่า (โดรน ระบบตรวจหาและแจ้งเตือนอัตโนมัติ เครื่องเป่าลม วิทยุสื่อสาร ชุดปฏิบัติงาน ถังบรรจุน้ำ ฯลฯ) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ค่าเครื่องจักร/อุปกรณ์ สำหรับเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปวัสดุเชื้อเพลิงทางการเกษตรในพื้นที่ป่า

         – รายการที่ไม่นับเป็นเงินลงทุน เช่น เงินบริจาค วัสดุสิ้นเปลือง ยานพาหนะที่ไม่สามารถตรวจสอบการใช้งานเฉพาะทางได้ ค่าขนส่งเครื่องจักร/อุปกรณ์ ค่าจ้างแรงงาน

  • ขั้นตอนการสมัครขอรับการส่งเสริม มีดังนี้

         1) ผู้ประกอบการตรวจสอบกิจการที่จะขอ/ได้รับการส่งเสริม

         2) กิจการที่เข้าข่ายให้การส่งเสริมได้ มีแผนการดำเนินการสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น โดยเงินลงทุนทั้งโครงการไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท และสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 5 แสนบาทต่อราย

         3) ยื่นคำขอรับการส่งเสริม/แก้ไขโครงการ โดยตรวจสอบ Checklist เอกสารที่ใช้ประกอบ และแผนการดำเนินการต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนยื่นขอรับการส่งเสริมจาก BOI

         4) BOI พิจารณาโครงการ และแจ้งผลการพิจารณา

         5) BOI ออกบัตรส่งเสริม และผู้ประกอบการต้องดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม

         ทั้งนี้ ระยะเวลาพิจารณาประมาณ 40 วันทำการ โดยมีแนวทางเร่งรัดสำหรับโครงการที่มีความพร้อม

  • สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม “PM 2.5 Matching” https://forestmatch.my.canva.site/pm-2-5-matching เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น (PM 2.5) ผ่านมาตรการ BOI โดยการรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ขั้นตอนการยื่นขอสิทธิประโยชน์ ประเภทกิจการที่เข้าเกณฑ์ รายการสนับสนุนที่เข้าข่ายการลงทุน พื้นที่เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินโครงการที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ฯลฯ
  • Next Step

         – สำนักงาน ก.พ.ร. จัดงาน “รวมพลังรัฐ-เอกชน-ชุมชน” แก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 เดือนมีนาคม 2568 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า