ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรม OpenGov Space

8 มี.ค. 2566
0
สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรม OpenGov Space

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (วันที่ 5 มี.ค. 66) สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรม OpenGov Space “Open Story ครั้งที่ 2 : ก้าวต่อไปหลังการใช้ข้อมูลเปิดต้านทุจริต” ณ ห้องปัญญาภิรมย์ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และทางไลฟ์สด Facebook page : Opengovthailand

ร่วมแชร์ประสบการณ์จากภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในหัวข้อ “ก้าวต่อไปหลังการใช้ข้อมูลเปิดต้านทุจริต”

  • คุณทวิชาติ นิลกาญจนา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  • คุณธนิสรา เรืองเดช CEO & Co-Founder บริษัท Punch Up WORLD จำกัด
  • คุณณัฐภัทร เนียวกุล หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใส บริษัท แลนด์วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

สรุปประเด็นได้ดังนี้

ความหมายของคำว่า “Corruption” หรือ “ทุจริต” คือการที่เบียดเบียน เอาเปรียบคนอื่น หรือการโกง ทำให้ตนเองได้ประโยชน์และผู้อื่นเสียประโยชน์ ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น การแซงคิว ก็คือการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การขี่จักรยานยนต์บนทางเท้า ก็ถือว่าเป็นการเอาเปรียบทางสังคมเช่นกัน

ประเภทของทุจริต

  1. ทุจริตที่มีความผิดทางกฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐเบียดบังทรัพย์ของทางราชการ หรือการเอื้อประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. ทุจริตที่ไม่มีความผิดทางกฎหมาย แต่ไม่ถูกต้องหลักศีลธรรม ไม่มีกฏหมายบังคับ เช่น การแซงคิว

สถานการณ์การทุจริตในประเทศไทย ประเมินได้ดังนี้

  • 60% เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่แต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง
  • 40% การโกงเงิน การทุจริตหรือการเบียดบังทรัพย์สินของรัฐ

ประเทศไทยนำ CPI (Corruption Perceptions Index) หรือดัชนีการรับรู้การทุจริต มาวัดระดับการทุจริต และยังมีอีก 180 ประเทศที่นำ CPI มาวัดระดับทุจริตเหมือนกัน ซึ่งประเทศไทยได้คะแนน 36 เต็ม 100 อยู่ในเกณฑ์ที่น้อย แต่มี 120 ประเทศที่ยังต่ำกว่า 50 คะแนนเช่นกัน

การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เป็นส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานกับภาครัฐ และสามารถตรวจสอบติดตามได้ สามารถทำให้การทำงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3 ด้านในการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) คือการปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน และการป้องกัน ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.nacc.go.th

การประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประยุกต์มาจากประเทศเกาหลีใต้ ผ่านระบบประเมินแบบออนไลน์ และมีมติ ครม. บังคับเข้าร่วมการประเมิน ITA โดยวัดความโปร่งใสจากคำถาม 30 ข้อ 30 คะแนน

การเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ควรปรับเปลี่ยนจากไฟล์ PDF เป็นไฟล์ Xsl. Csv. Docx. ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้ได้เลย

ตัวอย่างช่องทางการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ

  • https://data.go.th
  • https://actai.co
  • https://theyworkforus.elect.in.th/

“Anti Corruption หยุดการทุจริตด้วยพลังของประชาชน”

แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้ากับกิจกรรม OpenGov Space : Open Story ครั้งที่ 3 เรื่องการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ในฐานะผู้นำองค์กร ในวันอาทิตย์ที่ 19 มี.ค. 66 นี้ ที่นี่เลยจ้า

กดติดตามเพจ Opengovthailand เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารและกิจกรรมดี ๆ ที่คุณก็สามารถร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาภาครัฐกันนะคะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า